สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบานา
********************************
1. สภาพทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
บานาเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปัตตานีก่อนยุคอิสลามและกลายเป็นรัฐปาตานีดารุสลาม
คำว่า “บานา”เดิมมีรากศัพท์จากคำว่า “บันดัร”เป็นภาษาเปอร์เซีย (ปัจจุบันอิหร่าน) ซึ่งมีความหมายว่าเมืองท่าเรือ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในหนังสือตารีคฟาฎอนีเขียนโดย ชี้คฟากีฮอาลี บิน วันมูฮัมหมัด บิน ชี้คซอฟียุคดีนอัลอับบาซี ประมาณ ค.ศ. 1624 ได้บันทึกว่า บันดัร(บานา) เป็นเมืองท่าของอาณาจักรมลายูลังกาสุกะฝั่งทะเลตะวันออกและเคดาห์ บริเวณสุไหงเมอร์รือบกเป็นเมืองท่าฝั่งทะเลตะวันตก
เมื่อพญาตู (ดาตู) นาคะปา พระราชโอรสของพญากูรุปมหาจันทรามหายานอ ทรงย้ายราชธานีโกตามะห์ลีฆัยยะรัง มาตั้งราชธานีใหม่คือกรุงกรือเซะ และสร้างเมืองปาตานี แทนราชอาณาจักรมลายูลังกาสุกะพญาตูนาคะปา ทรงเปลี่ยนจากพุทธศาสนาเป็นศาสนาอิสลามโดยใช้พระนามว่าสุลต่านอิสมาอีลชาห์ และประกาศปาตานีดารุสลามเป็นรัฐอิสลามใน พ.ศ. 2000
ภูมิประเทศของปาตานีด้านชายฝั่งทะเลตะวันออกมีพื้นดินงอกออกเป็นแหลม ทำให้เกิดความสมบูรณ์ของยุทธศาสตร์การเมืองท่าที่สำคัญ สำหรับการเป็นสถานีการขนส่งทางทะเลบันดัรหรือบานาจึงกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่ยิ่งใหญ่ของเอเชียจากการบันทึกของชาวอังกฤษระบุว่า บันดัร(บานา) ของปาตานี เป็นท่าเรือแฝดคู่กับท่าเรือฮิราโดะของญี่ปุ่น (sister port)
บันดัร(บานา)เป็นท่าเรือปัตตานีที่ได้รับการกล่าวขานว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในแถบนี้ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 - 23 ได้ชื่อว่าเป็นมหานคร (metropolis) ของดินแดนมลายูนูซันตารา
อนึ่งนอกจากคำว่า “บันดัร” แล้วในตำแหน่งราชสำนักของปาตานีดารุสลามยังมีตำแหน่ง “ชาห์บันดัร” (Syah Bandar) ซึ่งเทียบเท่ากับตำแหน่งเจ้ากรมท่าของราชอาณาจักรสยามอันหมายถึงตำแหน่งรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ
SyahBandar ในภาษามลายูปาตานี ใช้เรียก Datupengkalan (datuแปลว่า เจ้า, pengkalan แปลว่า ท่าเรือ)
ในประวัติศาสตร์ปาตานีได้กล่าวถึง Datok orang kaya seriakar di raja Wan Mohd. B.,SyeikhShafiyuddin Al-abbasมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศได้ไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2092 – 2101สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และราชอาณาจักรปาตานีดารุสลาม รัชสมัยการปกครองของรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์โกตามะห์ลีฆัย สุลต่านมันโซร์ชาห์อิบนีอัลมัรฮูม สุลต่านอิสมาอีลชาห์
บ้านบานา(ท่าเรือปัตตานี)ในบันทึกของตารีคปาตานี ระบุว่า เรือสินค้ามาจอดเป็นจำนวนร้อยๆ ลำ ครั่ง (dammar) จำนวนมากถูกขายหมด ถึงขนาดต้องสั่งจากพม่าและกัมพูชา ในท้องทะเลปัตตานีบริเวณท่าเรือบานายามราตรีกาล จะมีแสงระยิบระยับดุจดวงดาวบนท้องฟ้า
เมื่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ซึ่งเปลี่ยนแปลงและไม่เคยหยุดนิ่ง ราชอาณาจักรปาตานีดารุสลามพ่ายแพ้สงครามจากสยามเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2329 และถูกแบ่งออกเป็น 7 หัวเมือง และท้ายที่สุดทางรัฐบาลกลางได้ตั้งมณฑลปัตตานีและจังหวัดปัตตานีในที่สุด บานาจึงเหลือสถานภาพเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีแห่งราชอาณาจักรไทยจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะทางกายภาพ
ที่ตั้ง
ตำบลบานา เป็นหนึ่งใน 13 ตำบล ของอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานีตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานีและศาลากลางจังหวัดปัตตานี ประมาณ 6กิโลเมตร
อาณาเขต
ตำบลบานา มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 24.75 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ จดอ่าวไทย
ทิศใต้ จดตำบลตะลุโบะและตำบลคลองมานิง
ทิศตะวันออก จดอ่าวบางปู และตำบลตันหยงลุโล๊ะ
ทิศตะวันตก จดตำบลอาเนาะรู และเทศบาลเมืองปัตตานี
สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สภาพดินเป็นหาดโคลนเลน เนื่องจากอยู่ในบริเวณปากแม่น้ำปัตตานี
ลักษณะภูมิอากาศ เนื่องจากตำบลบานาอยู่ติดกับฝั่งทะเลอ่าวไทย จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูฝน และได้รับลมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูร้อน ทำให้มีเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกรกฎาคม และฤดูฝนในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนมกราคม
การปกครองและประชากร
การปกครอง
ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วยหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านสุไหงปาแน มีนายเซ็ง แมะตีเมาะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านบานา มีนายอำนาจ มะมิง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3 บ้านบานา มีนายสุรเดช แยนา เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4 บ้านกำปงตารง มีนายอัดนัน กามะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านกูวิง มีนายอดิศักดิ์ สาเมาะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6 บ้านจือโระ มีนายรอยะ อาแว เป็นกำนันประจำตำบล
หมู่ที่ 7 บ้านปากาปันยัง มีนายเสกสันต์ ยูโซะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 8 บ้านยูโย มีนายสุไลมาน สาเมาะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 9 บ้านแหลมนก มีนายอริสมันต์ สะแอเต๊ะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 10 บ้านกูแบอีเตะ มีนายมุสตอฟา เบญญากาจ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 11 บ้านปากาดารอ มีนายสนิท หนูด้วง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลบานามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 20,921 คน แยกเป็นชาย10,327 คน หญิง10,594 คนมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 8,758 ครัวเรือน อัตราความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 845 คน/ตารางกิโลเมตร
ตารางแสดงจำนวนประชากร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร (คน) |
จำนวนครัวเรือน |
หมายเหตุ |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
1 |
สุไหงปาแน |
796 |
816 |
1,612 |
443 |
|
2 |
บานา |
982 |
1,021 |
2,003 |
551 |
|
3 |
บานา |
505 |
484 |
989 |
313 |
|
4 |
กำปงตารง |
541 |
534 |
603 |
215 |
|
5 |
กูวิง |
513 |
528 |
1,095 |
270 |
|
6 |
จือโระ |
790 |
819 |
1,609 |
307 |
|
7 |
ปากาปันยัง |
499 |
514 |
1,013 |
382 |
|
8 |
ยูโย |
2,036 |
1,990 |
4,026 |
2,387 |
|
9 |
แหลมนก |
634 |
701 |
1,335 |
478 |
|
10 |
กูแบอีเตะ |
1,188 |
1,311 |
2,499 |
1,258 |
|
11 |
ปากาดารอ |
2,053 |
2,084 |
4,137 |
2,154 |
|
รวมทั้งสิ้น |
10,327 |
10,594 |
20,921 |
8,758 |
|
ที่มา : ข้อมูลจากสำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม
1.การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบานา คือ
- อาชีพรับจ้าง
- อาชีพค้าขาย
- อาชีพทำนาเกลือ
- อาชีพเกษตรกรรม
- อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัวและอื่น ๆ
2.หน่วยธุรกิจในองค์การบริหารส่วนตำบลบานาอาชีพรับจ้าง
- โรงแรม จำนวน 6 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน23 แห่ง
- บริษัท / ห้างร้าน / ร้านค้า จำนวน33แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 7แห่ง
- สถานบริการ จำนวน90แห่ง
สภาพสังคม
1. การศึกษา
- ศูนย์ก่อนเกณฑ์การศึกษา จำนวน 5 แห่ง
- โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง
- โรงเรียนอนุบาล จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง
- ศูนย์เด็กกำพร้ายากจนอนาถา จำนวน 1 แห่ง
2. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง
- มัสยิด จำนวน 11 แห่ง
- สุเหร่าสถานที่ประกอบศาสนกิจ จำนวน 12 แห่ง
3. การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จำนวน 1 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 11 แห่ง
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ตำรวจชุมชน
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม/การจราจร
1. ถนน
- ถนนลูกรัง 17 สาย
- ถนนลาดยาง 20 สาย
- ถนนคอนกรีต 35 สาย
- ถนนลูกรังผิวหินคลุก 30 สาย
2. สะพาน
- สะพานคอนกรีต 5 แห่ง
- สะพานเหล็ก - แห่ง
- สะพานไม้ - แห่ง
- สะพานอื่นๆ 3 แห่ง
3. แหล่งน้ำ
- แม่น้ำที่ไหลผ่าน 1 สาย
- ลำห้วย/หนอง/คลอง/บึง 7 สาย
- บ่อบาดาลสาธารณะ 11 แห่ง
- บ่อบาดาลเอกชน 27 แห่ง
4. การโทรคมนาคม
- หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 22 จุด
- โทรศัพท์สาธารณะ 30เครื่อง
5. การประปา
- จำนวนครัวเรือนมีน้ำประปาใช้ 5,270 ครัวเรือน
- จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปาใช้ 536 ครัวเรือน
6. การไฟฟ้า
- จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 11หมู่บ้าน และจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 6,200 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่
- การให้บริการไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบานา ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปัตตานี
ข้อมูลอื่นๆ
1.องค์การบริหารส่วนตำบลบานา มีอาณาเขตพื้นที่บางส่วนติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวบางปู และทะเลอ่าวไทย ทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลมากมาย และมีความหลากหลายทางชีวภาพเหมาะที่จะพัฒนาในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะการประกอบอาชีพการประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเล และการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทะเลหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการจัดตั้งตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าจากผลิตภัณฑ์ทางทะเล เพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น